การต่อ ground ที่ถูกต้อง

จะมีสักกี่คนที่ตรวจรับบ้าน แล้วตรวจดูแม้กระทั้งการต่อ ground rod ลงดิน


คงมีคำถามว่ามันคืออะไร
Ground rod แปลเป็นไทยว่า หลักดิน คือแท่งเหล็กเคลือบทองแดง หรือ ทองแดง เลยก็ได้ (แต่ราคาจะ แพงหน่อย) มีความยาว 2.4 เมตร โดยจะปักลงดิน เพื่อทำให้มีค่าความต่างศักย์เป็นศูนย์เลย เผื่อเวลามีไฟรั่วจะไหลลงมาที่ ground rod เลย โดยไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้ไฟ
การต่อระหว่าง ground rod กับสายดิน ก็มีได้หลายแบบ เช่น การต่อแบบลิ่ม การต่อแบบประกับ (รูปที่ 1) และการต่อแบบหลอมละลาย (Exothermic Welding) (รูปที่ 2)
แต่แนะนำให้ใช้แบบหลอมละลายครับ เพราะว่าจะได้ไม่ต้องกังวลว่าสายขันแน่นไหม มีออกไซด์เกาะที่ผิวสัมผัสไหม (ทำให้มีความต้านทาน ซึ่งจะทำให้ ค่าที่หลักดินไม่เป็นศูนย์จริงๆ ครับ)
ส่วนภาพสุดท้าย เป็นหน้างานจริงที่ไปตรวจรับมาครับ ทางทีมเลยแจ้งให้ บริษัทเปลี่ยนเป็นแบบหลอมละลายดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าครับ

(Credit : คุณณัฐฐากร รักเสรีธรรม วิศวกรไฟฟ้าคนเก่ง ประจำ Home Check-Up Center ครับ)

เรื่องการต่อground_ตรวจรับบ้าน
เรื่องการต่อground_ตรวจรับบ้าน
เรื่องการต่อground_ตรวจรับบ้าน
เรื่องการต่อground_ตรวจรับบ้าน
เรื่องการต่อground_ตรวจรับบ้าน
เรื่องการต่อground_ตรวจรับบ้าน
Message us
error: Content is protected !!