“การปรับ slope เพื่อระบายน้ำ” (ต่อ)

ใน บทความก่อนหน้า เล่าให้ฟังเรื่อง “การปรับ slope เพื่อการระบายน้ำ” เกี่ยวกับกันสาดคอนกรีต ไปแล้ว วันนี้จะขอเพิ่มส่วนอื่นๆ ของบ้านที่จำเป็นต้องตรวจสอบ slope เช่นกัน
หลักๆ แล้วคงเป็นห้องน้ำ พื้นห้องน้ำที่ดีควรระบายน้ำได้สะดวก มิเช่นนั้น เพื่อนๆ คงต้อง คอยกวาดน้ำอยู่ร่ำไป การตรวจสอบก็ง่ายๆ ครับ เทน้ำ 1 ถัง ไปที่พื้นห้องน้ำเลย ควรระบายน้ำได้ดี ไม่เหลือตกค้างมากเกินที่จะสามารถระเหยได้ในเวลาไม่นาน (เพราะจะให้แห้งเลย คงเป็นไปไม่ได้ครับ)ที่พบบ่อยๆ ก็คือ มันมีน้ำเหลือค้างบริเวณ ที่่มีการกั้นธรณี แยกส่วนแห้ง และเปียก หรือบริเวณฉากกั้นอาบน้ำครับ ลองสังเกตดีๆ
(รูปที่ 1-2)
ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำในห้องน้ำบริเวณฉากกั้นอาบน้ำ
1. ตัวอย่าง defect การปรับslopeระบายน้ำในห้องน้ำบริเวณฉากกั้นอาบน้ำ
ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำในห้องน้ำบริเวณฉากกั้นอาบน้ำ
2. ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำในห้องน้ำบริเวณฉากกั้นอาบน้ำ
– ระเบียง ก็พบอยู่บ่อยครั้งที่มีน้ำค้างหลงเหลือบ้าง ทั้งนี้ก็พออนุโลมกันได้ถ้าไม่มากจนคิดว่าใช้เวลารอให้ระเหยนานเกินไป
(รูปที่ 3)

 

ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำ
3. ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำ

 

– เฉลียงหน้าบ้าน (รูปที่ 4 ที่มีหมายเลข 30) พื้นที่เฉลียงห้องรับแขกมักไม่ได้ระบุในแบบให้ต้องปรับ slope เลยทำให้มีน้ำขัง แต่จริงๆ แล้วถ้าปรับให้ไม่ขังก็ดีครับ เผื่อเดินผ่านไม่ทันสังเกตจะลื่นหกล้มได้

ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำ
4. ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำ


– พื้นที่จอดรถ จุดนี้มักเจอทุกโครงการเลย ส่วนจะมาก หรือน้อย ก็อีกเรื่องนึง แต่ส่วนใหญ่ทางโครงการมักไม่ค่อยยอมแก้ไข เพราะมันแก้ยากทีเดียว (รูปที่ 5-6) จะเห็นได้ว่า ในบางกรณี การที่น้ำระบายไม่สะดวก อาจจะทำให้เกิดคราบตามรูปสุดท้ายได้ครับ (แต่จะว่าไป กรณีพื้นเป็นทรายล้าง ก็มีโอกาสมีรอย คราบต่างๆ ได้อยู่แล้ว เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ)

ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำ
5. ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำ
ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำที่โรงจอดรถ
6. ตัวอย่างdefectเรื่องการปรับslopeระบายน้ำที่โรงจอดรถ

 


สรุป ทั้งหมดขึ้นกับความพอใจของเจ้าของบ้านครับ บางอย่างก็ได้แต่รู้ไว้ อาจแก้ไม่ได้ / ไม่ยอมแก้ให้ ครับ ถ้าจะให้แนะนำ ก็ถ้าเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับความปลอดภัย หรือ function การใช้งาน และพอยอมๆ ได้ก็ผ่านไปครับ เพราะบางทียิ่งแก้งาน ก็ยิ่งแย่ก็ได้

 

Message us
error: Content is protected !!