ปัญหาโลกแตก เรื่องของงู กับสวนสวย

เพื่อนๆ ที่มีบ้านเดี่ยว มีสนามหญ้า และต้นไม้ อาจมีโอกาสได้เจองูกันบ้าง (สำหรับผมเอง ก็เจอมาสี่ห้าครั้งได้แล้ว) แค่คิดก็เสียวแล้วครับ ใครจะอยากเจอหล่ะ… มาเริ่มที่วิธีป้องกันงูเข้าบ้านครับ ลองดูตาม http://home.kapook.com/view65807.html ค่อนข้างเข้าใจง่ายดีครับ สำหรับผมเอง ส่วนตัวก็ลองวิธีต่างๆ อาทิ เช่น ปูนขาวเทรอบๆบ้าน ฉีดยาฆ่าแมลง หรือ ยาฆ่าปลวก ตามใต้ฝาท่อระบายน้ำในสวน หรือแม้กระทั่งปลูกต้นเสลดพังพอนทั้งตัวผู้ และตัวเมีย (ก็เพิ่งทราบว่ามีเพศด้วย เลยเอามาทั้งคู่เลย จะได้ไม่เหงา) สุดท้ายก็ยังคงพบงูอยู่เป็นระยะๆ นะครับ ไม่ถึงกับหายไปเลย บางทีอาจเป็นเพราะไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง พอฝนตกก็คงชะล้างสารเคมีไปหมดแล้ว สุดท้ายว่าจะลองของนอกดูบ้าง ได้ยินมาหลายครั้งว่าที่ Daiso มียาไล่งูขาย ลักษณะตามรูปเลยครับ ไว้ว่างๆ จะลองใช้ดู แล้วแจ้งผล ให้เพื่อนๆ อีกครั้ง ทั้งนี้ที่กล่าวมาทั้งหมด ก็คือวิธีป้องกันครับ แต่จะทำไงดีถ้างูเข้ามาชะเง้อคอคุยกับเราในสวน…..   สำหรับผมแล้ว โชคดีมีน้องหมาแสนรู้คอยเห่าเสียงดังเวลาเจองูครับ พอเจ้างูเห็นน้องหมาเห่าแบบเป็นจริง เป็นจัง ก็จะชูคอสู้ทันทีครับ (ในที่นี้หมายถึงงูเห่านะครับ ถ้าเป็นงูอื่นๆ คงแค่เขี่ยๆ ให้ออกนอกบ้านคงพอ) […]

admin

28 September 2014

บ้านเก่าที่ไม่มีสายดิน ทำไงให้ปลอดภัย?

บ้านที่มีอายุเก่ามากกว่ายี่สิบปีขึ้นไป คงไม่ค่อยมีการติดตั้งระบบสายดินในบ้าน เพราะมาตรฐานของ การไฟฟ้าฯ ในขณะนั้นยังไม่ได้กำหนดเอาไว้ครับ (แต่ในปัจจุบันกำหนดไว้แล้ว) แล้วจะทำอย่างไรดีในมีความปลอดภัยเมื่อใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงในการใช้งาน อาทิเช่น เครื่องทำน้ำร้อน ตู้เย็น แอร์ เครื่องซักผ้า ก็มีได้ 2 ทางครับ เช่น 1. เดินสายไฟฟ้าไหมทั้งบ้านซะเลย เพราะว่าจริงๆ แล้วอย่าลืมนะครับว่า พลาสติกที่ใช้หุ้มสายทองแดงอยู่ก็มีโอกาสหมดอายุการใช้งานได้เหมือนกันนะครับ มิใช่ว่าจะใช้ได้ตลอดไปชั่วนิรันดร์ เอาเป็นว่า ก็สังเกตุด้วยตนเองว่าพลาสติกเริ่มแตก ร่อน แข็งๆ ก็คงต้องพิจารณาเปลี่ยนกันได้แล้ว ถ้าให้ประมาณการหยาบๆ ก็น่าจะ 20 ปี ขึ้นไป ก็น่าให้ช่างไฟฟ้า หรือ วิศวกรไฟฟ้า มาช่วยดูให้ก็ดีครับ ดังนั้นก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะวางระบบใหม่ให้ปลอดภัยไปเลยครับ 2. ถ้าคิดค่าเปลี่ยนมันแพง (คิดว่าคงมีหลักแสนนะ) ก็อาจติดตั้งสาย Ground ที่อุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงก่อนก็ได้ โดยเปลี่ยนแค่เต้ารับให้เป็นแบบมี Ground (มีสามรู ครับ) และเดินสาย Ground มาลงที่ แท่ง Ground Rod (หลักดิน) ที่ได้ติดตั้งตามมาตรฐาน […]

admin

26 September 2014

ระวัง… เครื่องทำน้ำร้อนที่มีสายดินแบบหลอกๆ

วันนี้ขอนำตัวอย่างการตรวจบ้าน ที่มีข้อสังเกตุเกี่ยวกับระบบสายดินมาเป็นตัวอย่าง เผื่อเพื่อนๆ จะใช้เป็นแนวทางในอนาคตครับ ในกรณีนี้ทางทีม Home Check-Up Center ได้ตั้งข้อสังเกตว่า มีการเดินสายไฟ ที่มีสายดิน มาเพื่อรอติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนที่ห้องน้ำเรียบร้อยแล้ว (ตามรูปที่ 1) (ซึ่งถูกต้องครับ ที่มีสายดิน เพราะอันตรายมาก) แต่เมื่อไปตรวจสอบที่ตู้เมนไฟฟ้าปรากฏว่า เป็นตู้แบบเก่าที่ไม่รองรับระบบสายดิน (ตามรูปที่ 2) ดังนั้นจึงต้องให้มีการตรวจสอบว่าสายดินในห้องน้ำ มีการต่อลง Ground Rod จริงไหม และได้มาตรฐานของ การไฟฟ้าฯ ไหม เป็นข้อสังเกตเบื้องต้นครับ เล็กน้อยแต่สำคัญครับ    

admin

26 September 2014

การต่อ ground ที่ถูกต้อง

จะมีสักกี่คนที่ตรวจรับบ้าน แล้วตรวจดูแม้กระทั้งการต่อ ground rod ลงดิน คงมีคำถามว่ามันคืออะไร Ground rod แปลเป็นไทยว่า หลักดิน คือแท่งเหล็กเคลือบทองแดง หรือ ทองแดง เลยก็ได้ (แต่ราคาจะ แพงหน่อย) มีความยาว 2.4 เมตร โดยจะปักลงดิน เพื่อทำให้มีค่าความต่างศักย์เป็นศูนย์เลย เผื่อเวลามีไฟรั่วจะไหลลงมาที่ ground rod เลย โดยไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้ไฟ การต่อระหว่าง ground rod กับสายดิน ก็มีได้หลายแบบ เช่น การต่อแบบลิ่ม การต่อแบบประกับ (รูปที่ 1) และการต่อแบบหลอมละลาย (Exothermic Welding) (รูปที่ 2) แต่แนะนำให้ใช้แบบหลอมละลายครับ เพราะว่าจะได้ไม่ต้องกังวลว่าสายขันแน่นไหม มีออกไซด์เกาะที่ผิวสัมผัสไหม (ทำให้มีความต้านทาน ซึ่งจะทำให้ ค่าที่หลักดินไม่เป็นศูนย์จริงๆ ครับ) ส่วนภาพสุดท้าย เป็นหน้างานจริงที่ไปตรวจรับมาครับ ทางทีมเลยแจ้งให้ บริษัทเปลี่ยนเป็นแบบหลอมละลายดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าครับ (Credit : […]

admin

25 September 2014

งานเสาเข็ม (จุดเริ่มต้นของทุกอย่าง)

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจในรายละเอียดของงานก่อสร้างมากยิ่งขึ้น ผมตั้งใจจะรีวิวเนื้อหาเพิ่มเติม (แบบคิดได้ก็เขียนไปเรื่อยๆ) ให้ครอบคลุมเนื้อหาคร่าวๆ และลักษณะ defect ที่พบในงานก่อสร้าง ที่ควรระวังครับ มาเริ่มกันที่ เสาเข็มของบ้านแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ 1. เสาเข็มตอก 2. เสาเข็มเจาะ ว่าแต่มันแตกต่างยังไง แล้วทำไมต้องมีตั้งสองแบบ คำตอบก็คือ ขึ้นกับสภาพสิ่งแวดล้อมที่จะก่อสร้างครับ เพื่อให้เข้าใจง่าย ก็เอาเป็นว่า เสาเข็มตอก คือเสาเข็มที่หล่อเสร็จจากโรงงานมาเลย แล้วใช้ปั้นจั่นตอกลงดิน ตาม http://www.youtube.com/watch?v=ElnZIO700Jw ส่วนเสาเข็มเจาะ ก็ตามชื่อครับ คือจะเจาะเอาดินออกมาให้ได้ความลึกตามต้องการแล้วก็เทปูนเข้าไป ตาม http://www.youtube.com/watch?v=uB2J69MHNC0 กรณีมีบ้านอยู่อาศัยใกล้ๆ บริเวณก่อสร้าง น้อยกว่า 30 เมตร จำเป็นต้องใช้เข็มเจาะครับ อ่านตาม http://www.asa.or.th/th/node/92524 ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบ้านแพงขึ้นอีกพอควรครับ เข็มตอกรวมค่าแรง ประมาณ 5,000 – 6,000 บาท และเข็มเจาะ ประมาณหมื่นต้นๆ ครับ (ทั้งนี้ราคาที่แสดงเป็นการประมาณการนะครับ โดยขึ้นกับพื้นที่และจำนวนด้วย เพราะมี fix […]

admin

24 September 2014

เสียเงินจ้างสถาปนิก หรือมัณฑนากร คุ้มไหม?

ก่อนจะถึงบทความนี้ คิดว่าเพื่อนๆ คงอ่านบทก่อนหน้ามาบ้างแล้ว และคงพอทราบว่าเราจะออกแบบห้องน้ำ และครัว โดยผู้ชำนาญเฉพาะด้านที่มีให้บริการที่ห้างวัสดุก่อสร้างดังๆ ส่วนห้องอื่นๆ ของบ้าน เช่นห้องโถง ห้อง นอน ฯลฯ ก็เป็นหน้าที่ของ สถาปนิก ที่บริษัทรับสร้างบ้านครับ ปกติแต่ละบริษัทฯ จะมีบริการนี้ให้อยู่ (อาจเป็น full time หรือ part time ก็แล้วแต่กรณี) หรือบางคนที่จ้างจากภายนอกก็น่าจะได้ แต่คงต้องจัดการเรื่องการประสานงานกันให้ดี ส่วนค่าบริการ ทางบริษัทฯ ก็ต้องคุยดูครับ ส่วนใหญ่น่าจะไม่กี่หมื่น (ของผม รู้สึกว่า 1 หมื่นบาท) พี่เค้าจะช่วยเราออกแบบการวางเฟอร์นิเจอร์ห้องต่างๆ ในบ้าน ก็ลองพูดคุยกันดู ว่าแต่ว่า เพื่อนๆ บางคนอาจจะบอกว่าผมเว่อร์ไปหรือเปล่า บางคนอาจมีความสามารถในการออกแบบเอง หรือ บางคนอาจแค่ ego สูง … สำหรับผมแล้ว ผมว่ามันคุ้มซะยิ่งกว่าคุ้มครับ มาดูกันว่า ในความคิดผมมันคุ้มยังไง 1. เรื่องการเลือกสีทาภายนอก และภายในบ้าน สีที่ใช้ทาภายนอก และภายในบ้าน […]

admin

23 September 2014

การออกแบบห้องครัว และห้องน้ำ แบบ 3D

ภาพตัวอย่างของ การออกแบบห้องครัวของบุญถาวร Smart Kitchen ครับ ปัจจุบันก็ใช้อยู่ที่บ้าน ก็ใช้ได้ดีนะครับ ไม่แพงด้วย โดยเพื่อนๆ ต้องเอาแบบบ้านพร้อมตรวจสอบระยะที่แสดงในแบบด้วยนะครับว่าตรงกัน งานครัวก็ต้องทำไปพร้อมกับการสร้างบ้านเลย นะครับ เพราะต้องก่อครัวปูนเพื่อรองรับตู้สำเร็จรูป และหน้าต่างบานเปิดต่างๆ รวมถึงหล่อปูนรอตำแหน่งที่ต้องใส่อ่างล้างจาน โดยทุกระยะทาง บุญถาวร จะกำหนดมาให้เรียบร้อย แบบต่างๆ สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการในจอคอมพิวเตอร์ จนพอใจครับ ใครไม่เคยลองใช้บริการควรลองดูนะครับ   อีกตัวอย่างของการใช้บริการออกแบบ 3D ของทาง บริษัทฯ ผู้ขายอุปกรณ์ก่อสร้าง สุขภัณฑ์ ต่างๆ ในกรณีนี้ผมใช้บริการของ Bath Mall แถวรัตนาธิเบศร์ (แต่หลังจากผมซื้อของเค้าแล้ว ก็รู้สึกจะปิดปรับปรุงไปยาวเลย คงไม่เปิดแล้วมั้ง) แต่จริงๆ บุญถาวร และ HomePro ก็น่าจะมีบริการแบบเดียวกันนะครับ จริงๆ ก็คล้ายกับเรื่องการออกแบบครัว แต่ว่าโปรแกรมทำเป็นภาพสี สวยงาม และเห็นภาพดี ถ้าได้สถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องห้องน้ำจริงๆ ละก็ บอกได้คำเดียวว่า “สนุก” เพราะสถานที่นี้คือ ที่โปรดของสาวๆ บางคนที่เดียว สถาปนิกเก่งๆ […]

admin

23 September 2014

ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” สำหรับการสร้างบ้าน ตอนที่ 2

ยังมีวิธีไหนที่จะช่วยป้องกัน ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” ได้อีกบ้าง หลังจาก บทความตอนที่แล้ว ได้ระบุสาเหตุของการเกิดปัญหาไปแล้ว บทนี้จะขอนำเสนอเพื่อเติมว่าเราควรทำอย่างไรกันดี มาเริ่มกันเลยครับ 1. ต้องกำหนดสเปคทุกอย่างให้สมบูรณ์ที่สุดในรายการประกอบแบบ (สำหรับ เพื่อนๆ ที่ไม่รู้จักรายการประกอบแบบว่าคืออะไร ขออธิบายสั้นๆ ว่าคือ รายการที่กำหนดรายละเอียดสเปคของที่ใช้ทั้งหมดในบ้านเลยครับ) เราต้องหารายการวัสดุที่เราต้องการให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เดี๋ยวผมจะมารีวิวให้ที่ละรายการที่น่าสนใจ (บางรายการเพื่อนๆ อาจไม่ค่อยได้ยินก็เป็นได้ครับ) 2. ถ้าต้องการต่อเติมอะไรก็แล้วแต่ที่มีเกินจากแบบบ้านที่เลือกมา ให้จัดการให้ทางบริษัทฯ ออกแบบให้เรียบร้อยก่อนทำสัญญาเลยนะครับ เพราะว่ามันเกี่ยวโยงไปถึงการเตรียมการตอกเข็ม และทำคานคอดิน เผื่อไว้ก่อน (แม้ว่ายังไม่ก่อสร้าง) เพราะว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทำฐานรากรองรับไว้แม้ว่าจะยังไม่พร้อมที่จะต่อเติมวันนี้ (แต่จริงๆ แนะนำให้กลั้นใจทำงานโครงสร้างให้เสร็จไปในคราวเดียว ปัญหาด้วยการทรุด และแตกร้าวจะไม่มีครับ เพราะใช้โครงสร้างเดียวกัน ก็จะทรุดเท่าๆ กัน เลยไม่แตกร้าว) 3. กรณีอยากสร้างบ้าน 3 ชั้น เพื่อให้ได้พื้นที่ใช้สอยมากขึ้นในอนาคตเวลามีลูกหลายๆ คน ก็อาจจะให้ออกแบบโครงสร้าง ฐานราก เสาเข็ม รอไว้ก็ได้ครับ แต่อาจสร้างแค่สองชั้นไปก่อน แล้วค่อยต่อเติมทีหลัง แต่ก็ไม่แนะนำครับ ถ้างบประมาณพอลุยทีเดียวดีกว่า ไม่วุ่นทีหลัง 4. ถ้าต้องการทำรั้วบ้านด้วย แนะนำให้ออกแบบไปพร้อมกันเลยครับ […]

admin

21 September 2014

ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” สำหรับการสร้างบ้าน ตอนที่ 1

ทำไมถึงเกิดเบื้ยหัวแตก ในการใช้บริการบริษัทรับจ้างสร้างบ้าน ในบทความที่แล้วให้แนวคิดใน การประเมินราคาก่อสร้างเบื้องต้น  ของแบบบ้านที่เราถูกใจแล้ว คราวนี้ผมจะเสนอแนวทางป้องกัน ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะต้องอย่าลืมนะครับว่า ส่วนใหญ่แล้วคนที่คิดจะสร้างบ้าน มันมีงบที่จำกัดตั้งแต่เลือกแบบบ้านแล้ว คือ เรามักจะพยายามเลือกแบบบ้านให้พอดีกับงบมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นพอมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าที่ตั้งงบไว้จะมีปัญหาได้ครับ (ไม่นับเพื่อนๆ ที่เพิ่มงบได้ไม่จำกัดนะครับ) เรามาเริ่มที่การวิเคราะห์ว่าทำไมงบถึงบานปลายได้ ผมพอสรุป ได้ดังนี้ครับ 1. ปัญหาจากตัวเราเอง อาทิเช่น – ไม่สรุปความต้องการที่ชัดเจน เพื่อกำหนดลงในแบบก่อสร้างให้หมด ก่อนทำสัญญา – ไม่จ้างมัณฑนากร หรือ สถาปนิก ให้ช่วยออกแบบบ้าน และรายละเอียดภายในบ้าน เพราะมันเป็นอาชีพของเขาครับ อย่าไปเสียดายเงินไม่กี่หมื่นบาทเลย เพราะมันจะประหยัดให้เพื่อนๆ ได้ในภายหลังอย่างมหาศาล (จะอธิบายอีกเพิ่มเติมครับ) – เปลี่ยนแปลงรายละเอียด ที่ระบุในแบบบ้านภายหลังจากการทำสัญญา (อาจเป็นผลจากข้อแรก ที่ไม่ชัดเจนในตัวเองก่อน เลยเป็นปัญหาซ้ำซ้อนกัน) 2. รู้ไม่เท่าทันกลเม็ดของบริษัทรับสร้างบ้าน ซึ่งจะคิดราคาค่าเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ หลังจากทำสัญญา ที่แพงมาก อาทิเช่น ค่าติดตั้งเต้ารับไฟฟ้า เพิ่มเติม ตำแหน่งละ 1,200 บาท ในขณะที่ราคาปกติในตลาดอยู่ที่ประมาณ […]

admin

21 September 2014

การประเมินราคาก่อสร้างเบื้องต้น

หลังจากเพื่อนๆ หาแบบบ้านที่ถูกใจได้ ไม่ว่าจากทางใดใน 5 แนวทางที่ให้ไปแล้วในบทความ “แหล่งหาแบบบ้านถูกใจ” เพื่อนๆ คงอยากรู้ว่ามันน่าจะใช้งบประมาณสักเท่าไรในการก่อสร้างกันนะ ผมขอนำเสนอแนวทางในการประเมินคราวโดยใช้ราคาก่อสร้าง ต่อ ตร.ม. มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาครับ ตารางนี้แสดงราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร ของสมาคมผู้ประเมินฯ อันนี้จะล่าสุดครับ ราคา ณ สิ้นปีที่แล้ว   เรามาลองประเมินราคาก่อสร้างเบื้องต้น ก้นนะครับ ตัวอย่าง แบบบ้านที่เลือกมาแล้วมีพื้นที่ใช้สอยดังนี้ ชั้นล่าง     กว้าง x ยาว = 8.00 ม. x 13.50 ม. = 108 ตารางเมตร ชั้นบน สมมติว่าเท่ากับชั้นล่าง = 108 ตารางเมตร รวม สองชั้น เท่ากับ 216 ตารางเมตร ตามตารางข้อที่ 6 บ้านเดี่ยวตึก 2-3 ชั้น มีราคาก่อสร้างระหว่าง 10,320 – […]

admin

20 September 2014
1 4 5 6
Message us
error: Content is protected !!