6 ข้อดี – ข้อด้อย บ้าน Precast !

6 ข้อดี - ข้อด้อย บ้าน Precast มีอะไรบ้าง?

Home Check Up ขอสรุปข้อดี - ข้อด้อย ของบ้าน Precast เปรียบเทียบกับ การก่อสร้างแบบดั้งเดิม (Conventional) ตามตารางนี้ครับ

ลำดับ
หัวข้อ
บ้านแบบก่ออิฐ – ฉาบปูน
(CONVENTIONAL)
บ้านแบบแผ่นสำเร็จรูป
(PRECAST)
1
ด้านคุณภาพความ แข็งแรง ทนทานมีความแข็งแกร่ง ทนทานมาก แต่น้อยกว่าผนังสำเร็จรูปแข็งแรงกว่า ด้วยด้านในมีการ เสริมเหล็กเป็นจํานวนมาก
2
ด้านการกันเสียงกันเสียงได้ปานกลาง เนื่องจากมีความพรุนของวัสดุเป็นจำนวนมากอยู่ภายในอิฐกันเสียงได้มาก เพราะผนังมีความหนาแน่นสูง
3
ด้านการอมความร้อนค่อนข้างอมความร้อน แต่มีความพรุนของอิฐ ช่วยระบายออกอมความร้อนสูง เพราะผนังมีความหนาแน่น และมีเหล็กเส้นจํานวนมาก
4
ด้านการรั่วซึมรั่วซึมได้จากรอยร้าวของผนังรั่วซึมได้จากรอยต่อของผนัง เนื่องจากคุณภาพวัสดุที่ใช้อุดรอยต่อ
5
ด้านการทุบ ตอก เจาะ และการต่อเติมทําได้ง่าย ไม่มีปัญหารอยร้าว กระทบกับจุดอื่นทําได้ยาก ทุบจุดเดียว อาจร้าวทั้งบ้าน
6
ด้านความสวยงาม และการตกแต่งตกแต่งได้หลากหลายสไตล์ ตามความต้องการตกแต่งได้น้อย ทําได้แค่ทาสีผนัง หรือติดวอลเปเปอร์

บ้านแผ่นสำเร็จรูป (PRECAST) ต่างจาก บ้านก่ออิฐ – ฉาบปูน (CONVENTIONAL)  อย่างไร

สำหรับคุณลูกค้าที่กำลังตัดสินใจมองหาบ้านสวยๆซักหลัง แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ  เรื่องราคา แบบบ้านที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์  ทำเลที่ตั้งของโครงการ  ความสวยงาม  และปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย แต่วันนี้

เราจะมาพูดถึงอีกหนึ่งปัจจัยในการก่อสร้างที่มีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่คุณลูกค้าควรทำความเข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน นั้นคือ “การก่อสร้างบ้านแบบ ก่ออิฐ - ฉาบปูน และ การก่อสร้างบ้านแบบ PRECAST”

ทำความรู้จักกับระบบของการก่อสร้างบ้านที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

เชื่อว่าคุณลูกค้าหลายๆท่านอาจสงสัยเวลาเข้าไปเยี่ยมชมโครงการบ้านจัดสรรต่างๆ ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายแนะนำโครงการจะมีการให้ข้อมูลว่า ทางโครงการก่อสร้างบ้านด้วยวิธี ก่ออิฐ-ฉาบปูน หรือ

การก่อสร้างแบบแผ่นสำเร็จรูป มันคืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร มาหาคำตอบกันได้เลยครับ

ปัจจุบันในงานก่อสร้างโครงการบ้านจัดสรร และ คอนโดมิเนียม  นิยมใช้วิธีการก่อสร้างอยู่ 2 วิธีคือ

1.ระบบการก่อสร้างแบบก่ออิฐ – ฉาบปูน (CONVENTIONAL CONSTRUCTION)

2.ระบบการก่อสร้างแบบแผ่นสำเร็จรูป (PRECAST CONSTRUCTION)

 

1. ระบบการก่อสร้างแบบก่ออิฐ – ฉาบปูน (CONVENTIONAL CONSTRUCTION) คืออะไร?

การก่อสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูน เป็นวิธีการก่อสร้างที่นิยมใช้กันมายาวนานโดยใช้ อิฐแดง อิฐมอญ  อิฐบล็อค  มาก่อตั้งเรียงกันและใช้ปูนฉาบเป็นตัวยึดประสานให้เรียบเนียน แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของการก่อสร้างจึงนิยมใช้ อิฐมวลเบาเป็นวัสดุในก่อสร้าง  วิธีการก่อสร้างนี้จะใช้เสาเป็นตัวรับแรงกระทำและรับน้ำหนักของตัวบ้าน และถ่ายแรงลงไปยัง คาน ตามลำดับ

 

วิธีก่อสร้างแบบ conventional construction
วิธีก่อสร้างแบบการก่อสร้างแบบก่ออิฐ – ฉาบปูน (conventional construction)

 

ข้อดีของระบบการก่อสร้างแบบก่ออิฐ ฉาบปูน (CONVENTIONAL CONSTRUCTION)

-มีความแข็งแรง  ความแกร่ง ความคงทน เนื่องจากเป็นวิธีที่ใช้กันมายาวนาน อาจสังเกตุได้จาก โบราณสถานต่างๆที่ยังคงอยู่

-ระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากอิฐมีความพรุนทำให้เกิดช่องอากาศที่มีขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความสามารถระบายความร้อนและเกิดความเย็นได้ดี

-สามารถตกแต่งต่อเติมได้ ตามความต้องการ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อจุดอื่นๆ เนื่องจากบ้านประเภทก่ออิฐ สามารถทำการ ทุบ เจาะ สกัด ได้ง่าย

- ขนาดมีมาตรฐาน การก่อสร้างด้วยปูน จะมีการใช้อิฐที่นำมาฉาบปูนก่อเป็นผนังขึ้นไป ซึ่งขนาดของอิฐก็จะมีมาตรฐานของมันเอง จึงสามารถใช้งาน ขึ้นรูป ตัดแต่งได้ตามขนาด และ รูปแบบที่เจ้าของบ้านต้องการ

-ทนต่อไฟ บ้านผนังปูนจะทนทานต่อไฟมากกว่าผนังสำเร็จรูป และอาจจะทนได้ถึงประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งทำให้คนที่พักอาศัยรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

 

ข้อจำกัดของระบบการก่อสร้างแบบก่ออิฐ ฉาบปูน (CONVENTIONAL CONSTRUCTION)

- ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างนาน  เนื่องจากการก่อสร้างด้วยวิธีการก่อฉาบประกอบด้วยความหลากหลายทางขั้นตอนการก่อสร้าง จึงใช้เวลานานกว่าจะก่อสร้างบ้านเสร็จ

-  ผนังอาจแตกร้าวง่าย  เกิดจากการฉาบผนังในช่วงที่ก่อสร้างเสร็จใหม่ๆ ขณะที่ปล่อยให้ปูนฉาบแห้งและเซทตัวให้ยึดติดกับผนัง อาจเกิดการแห้งในแต่ละพื้นที่ไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดแตกร้าวที่เกิดจากการหัวตัวของซีเมนต์ได้

-ป้องกันเสียงได้น้อย ถึงปานกลาง  เนื่องจากเนื้อวัสดุของอิฐมีความพรุนส่งผลให้เกิดช่องว่างฟองอากาศขนาดเล็กเป็นจำนวนมากจึงส่งผลให้อาจมีเสียงเล็ดลอดเข้ามาได้

-บ้านมีเหลี่ยมมุมเสา ส่งผลต่อการ Build in  เนื่องจากระบบบ้านแบบก่อ ฉาบ ใช้เสาเป็นตัวรับน้ำหนัก จึงส่งผลให้การตกแต่งภายในอาจติดขัด เนื่องจากพื้นที่ไม่ต่อเนื่องอาจถูกจำกัดด้วยเหลี่ยมเสา

 

2. ระบบการก่อสร้างแบบแผ่นสำเร็จรูป (PRECAST CONSTRUCTION) คืออะไร?

ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ ผนัง Precast Concrete คือผนังคอนกรีตเสริมเหล็กที่ได้ทำการหล่อขึ้นรูปเป็นผนังไว้เรียบร้อยแล้ว ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีขั้นตอนการผลิตคือ  มีแบบโมล วางเหล็กเสริมรับกำลัง แล้วจึงเทคอนกรีต พอได้อายุคอนกรีต สามารถนำไปใช้ได้ทันที  จึงทำให้มีคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตที่สม่ำเสมอ  เพียงแค่นำชิ้นส่วนต่าง ๆ ไปประกอบกันที่หน้างาน โดยการก่อสร้างด้วยระบบนี้ ไม่จำเป็นต้องมีเสา โครงสร้าง เพราะแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปถูกออกแบบมาเพื่อใช้ตัวผนังเป็นตัวรับน้ำหนักทั้งหมดนั้นเอง

ปัจจุบันผนังสำเร็จรูป เป็นที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง โครงการบ้านจัดสรร หรือคอนโด ที่ต้องก่อสร้างพร้อมกันเป็นจำนวนมาก   และรูปแบบที่ตายตัว ทำวนซ้ำๆกันไปเรื่อยๆ เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการก่อสร้าง

 

ตัวอย่าง ระบบการก่อสร้างแบบแผ่นสำเร็จรูป (PRECAST)

ข้อดีระบบการก่อสร้างแบบแผ่นสำเร็จรูป (PRECAST)

-ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่รวดเร็ว คุณภาพงานก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานที่ผลิตจากโรงงาน สร้างโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่วางไว้แล้ว จึงทำให้งานก่อสร้างเสร็จโดยระยะเวลาอันสั้น

-มีความแข็งแรงและความทนทานสูง เนื่องจากแผ่นสำเร็จรูปมีการวางเหล็กเสริมพิเศษเพื่อใช้รับน้ำหนักโดยเฉพาะ ประกอบกับใช้คอนกรีตที่มีอัดตรารับกำลังสูง ในการผลิต

-ช่วยในการจัดวางพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น เนื่องจากชิ้นส่วน เหมือนการต่อจิ๊กซอว์ เป็นงานที่นำมาวางตามแบบได้เลย ไม่ขึ้นกับสภาพอากาศและฝีมือช่าง ทำให้จัดวางรูปแบบของพื้นที่ ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ เนื่องจากไม่มีเสาบ้าน

-ป้องกันเสียงได้ดีเยี่ยม ผนัง Precast จะกันเสียงได้มากกว่าผนังอิฐแดงก่อ ด้วยลักษณะของผนังที่หนาแน่น ทำให้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูปสามารถป้องกันเสียงได้ดี

 

ข้อจำกัดระบบการก่อสร้างแบบแผ่นสำเร็จรูป (PRECAST)

-รอยร้าว และ การรั่วซึม สามารถเกิดขึ้นได้ ในร่องที่ถูกออกแบบไว้บริเวณรอยต่อระหว่างผนัง หากติดตั้งไม่ได้คุณภาพ จะเกิดการแตกร้าว รั่วซึม หากเกิดการแตกร้าวแล้ว แก้ไขยาก เพราะคอนกรีตมีความแข็งสูงมากและต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการอักคอนกรีตเพื่อซ่อมรอยร้าวที่เกิดขึ้น

-ตกแต่งต่อเติมได้น้อย เนื่องจากผนังสำเร็จรูปมีความแข็งแรงสูงจึงทำให้การตกแต่ง เจาะ สกัด ทุบ เป็นไปได้ค่อนข้างยาก และการตกแต่งต่อเติมอาจส่งผลต่อการรับน้ำหนัก ถ้าเจาะ สกัด โดยเหล็กเสริมภายในผนัง

-ระบายความร้อนได้ไม่ดี เนื่องจากผนังสำเร็จรูปมีความหนาแน่นในผนังสูงมากๆ จึงทำให้เกิดการระบายความร้อนได้น้อยมากๆเมื่อเทียบกับการก่ออิฐ

 

เป็นยังไงกันบ้างครับ พอมองภาพออกแล้วใช้ไหมครับว่า บ้านแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อจำกัด อย่างไร ทางเราหวังว่าบทความนี้ จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจให้ทางลูกค้าที่กำลังจะตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน ให้ได้บ้านที่ตรงตามความต้องการและเกิดประโยชน์ต่อทางลูกค้าแบบสูงสุดนะครับ

 

หากลูกค้าเลือกบ้านที่ตรงตามความต้องการได้แล้วละก็ อย่าลืมอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญมากๆ

ในการซื้อบ้านนั้นก็คือ การตรวจสอบบ้านก่อนโอนกรรมสิทธิ์ สามารถเรียกใช้บริการทางเราได้เลยนะครับ

ทางเรามีบริการตรวจสอบบ้าน และคอนโดมิเนียมแบบครบวงจร โดยวิศวกรมืออาชีพ ขอบคุณครับ

Message us
error: Content is protected !!