งานเสาเข็ม (จุดเริ่มต้นของทุกอย่าง)

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจในรายละเอียดของงานก่อสร้างมากยิ่งขึ้น ผมตั้งใจจะรีวิวเนื้อหาเพิ่มเติม (แบบคิดได้ก็เขียนไปเรื่อยๆ) ให้ครอบคลุมเนื้อหาคร่าวๆ และลักษณะ defect ที่พบในงานก่อสร้าง ที่ควรระวังครับ มาเริ่มกันที่ เสาเข็มของบ้านแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ 1. เสาเข็มตอก 2. เสาเข็มเจาะ ว่าแต่มันแตกต่างยังไง แล้วทำไมต้องมีตั้งสองแบบ คำตอบก็คือ ขึ้นกับสภาพสิ่งแวดล้อมที่จะก่อสร้างครับ เพื่อให้เข้าใจง่าย ก็เอาเป็นว่า เสาเข็มตอก คือเสาเข็มที่หล่อเสร็จจากโรงงานมาเลย แล้วใช้ปั้นจั่นตอกลงดิน ตาม http://www.youtube.com/watch?v=ElnZIO700Jw ส่วนเสาเข็มเจาะ ก็ตามชื่อครับ คือจะเจาะเอาดินออกมาให้ได้ความลึกตามต้องการแล้วก็เทปูนเข้าไป ตาม http://www.youtube.com/watch?v=uB2J69MHNC0 กรณีมีบ้านอยู่อาศัยใกล้ๆ บริเวณก่อสร้าง น้อยกว่า 30 เมตร จำเป็นต้องใช้เข็มเจาะครับ อ่านตาม http://www.asa.or.th/th/node/92524 ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบ้านแพงขึ้นอีกพอควรครับ เข็มตอกรวมค่าแรง ประมาณ 5,000 – 6,000 บาท และเข็มเจาะ ประมาณหมื่นต้นๆ ครับ (ทั้งนี้ราคาที่แสดงเป็นการประมาณการนะครับ โดยขึ้นกับพื้นที่และจำนวนด้วย เพราะมี fix […]

admin

24 September 2014

เสียเงินจ้างสถาปนิก หรือมัณฑนากร คุ้มไหม?

ก่อนจะถึงบทความนี้ คิดว่าเพื่อนๆ คงอ่านบทก่อนหน้ามาบ้างแล้ว และคงพอทราบว่าเราจะออกแบบห้องน้ำ และครัว โดยผู้ชำนาญเฉพาะด้านที่มีให้บริการที่ห้างวัสดุก่อสร้างดังๆ ส่วนห้องอื่นๆ ของบ้าน เช่นห้องโถง ห้อง นอน ฯลฯ ก็เป็นหน้าที่ของ สถาปนิก ที่บริษัทรับสร้างบ้านครับ ปกติแต่ละบริษัทฯ จะมีบริการนี้ให้อยู่ (อาจเป็น full time หรือ part time ก็แล้วแต่กรณี) หรือบางคนที่จ้างจากภายนอกก็น่าจะได้ แต่คงต้องจัดการเรื่องการประสานงานกันให้ดี ส่วนค่าบริการ ทางบริษัทฯ ก็ต้องคุยดูครับ ส่วนใหญ่น่าจะไม่กี่หมื่น (ของผม รู้สึกว่า 1 หมื่นบาท) พี่เค้าจะช่วยเราออกแบบการวางเฟอร์นิเจอร์ห้องต่างๆ ในบ้าน ก็ลองพูดคุยกันดู ว่าแต่ว่า เพื่อนๆ บางคนอาจจะบอกว่าผมเว่อร์ไปหรือเปล่า บางคนอาจมีความสามารถในการออกแบบเอง หรือ บางคนอาจแค่ ego สูง … สำหรับผมแล้ว ผมว่ามันคุ้มซะยิ่งกว่าคุ้มครับ มาดูกันว่า ในความคิดผมมันคุ้มยังไง 1. เรื่องการเลือกสีทาภายนอก และภายในบ้าน สีที่ใช้ทาภายนอก และภายในบ้าน […]

admin

23 September 2014

การออกแบบห้องครัว และห้องน้ำ แบบ 3D

ภาพตัวอย่างของ การออกแบบห้องครัวของบุญถาวร Smart Kitchen ครับ ปัจจุบันก็ใช้อยู่ที่บ้าน ก็ใช้ได้ดีนะครับ ไม่แพงด้วย โดยเพื่อนๆ ต้องเอาแบบบ้านพร้อมตรวจสอบระยะที่แสดงในแบบด้วยนะครับว่าตรงกัน งานครัวก็ต้องทำไปพร้อมกับการสร้างบ้านเลย นะครับ เพราะต้องก่อครัวปูนเพื่อรองรับตู้สำเร็จรูป และหน้าต่างบานเปิดต่างๆ รวมถึงหล่อปูนรอตำแหน่งที่ต้องใส่อ่างล้างจาน โดยทุกระยะทาง บุญถาวร จะกำหนดมาให้เรียบร้อย แบบต่างๆ สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการในจอคอมพิวเตอร์ จนพอใจครับ ใครไม่เคยลองใช้บริการควรลองดูนะครับ   อีกตัวอย่างของการใช้บริการออกแบบ 3D ของทาง บริษัทฯ ผู้ขายอุปกรณ์ก่อสร้าง สุขภัณฑ์ ต่างๆ ในกรณีนี้ผมใช้บริการของ Bath Mall แถวรัตนาธิเบศร์ (แต่หลังจากผมซื้อของเค้าแล้ว ก็รู้สึกจะปิดปรับปรุงไปยาวเลย คงไม่เปิดแล้วมั้ง) แต่จริงๆ บุญถาวร และ HomePro ก็น่าจะมีบริการแบบเดียวกันนะครับ จริงๆ ก็คล้ายกับเรื่องการออกแบบครัว แต่ว่าโปรแกรมทำเป็นภาพสี สวยงาม และเห็นภาพดี ถ้าได้สถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องห้องน้ำจริงๆ ละก็ บอกได้คำเดียวว่า “สนุก” เพราะสถานที่นี้คือ ที่โปรดของสาวๆ บางคนที่เดียว สถาปนิกเก่งๆ […]

admin

23 September 2014

ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” สำหรับการสร้างบ้าน ตอนที่ 2

ยังมีวิธีไหนที่จะช่วยป้องกัน ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” ได้อีกบ้าง หลังจาก บทความตอนที่แล้ว ได้ระบุสาเหตุของการเกิดปัญหาไปแล้ว บทนี้จะขอนำเสนอเพื่อเติมว่าเราควรทำอย่างไรกันดี มาเริ่มกันเลยครับ 1. ต้องกำหนดสเปคทุกอย่างให้สมบูรณ์ที่สุดในรายการประกอบแบบ (สำหรับ เพื่อนๆ ที่ไม่รู้จักรายการประกอบแบบว่าคืออะไร ขออธิบายสั้นๆ ว่าคือ รายการที่กำหนดรายละเอียดสเปคของที่ใช้ทั้งหมดในบ้านเลยครับ) เราต้องหารายการวัสดุที่เราต้องการให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เดี๋ยวผมจะมารีวิวให้ที่ละรายการที่น่าสนใจ (บางรายการเพื่อนๆ อาจไม่ค่อยได้ยินก็เป็นได้ครับ) 2. ถ้าต้องการต่อเติมอะไรก็แล้วแต่ที่มีเกินจากแบบบ้านที่เลือกมา ให้จัดการให้ทางบริษัทฯ ออกแบบให้เรียบร้อยก่อนทำสัญญาเลยนะครับ เพราะว่ามันเกี่ยวโยงไปถึงการเตรียมการตอกเข็ม และทำคานคอดิน เผื่อไว้ก่อน (แม้ว่ายังไม่ก่อสร้าง) เพราะว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทำฐานรากรองรับไว้แม้ว่าจะยังไม่พร้อมที่จะต่อเติมวันนี้ (แต่จริงๆ แนะนำให้กลั้นใจทำงานโครงสร้างให้เสร็จไปในคราวเดียว ปัญหาด้วยการทรุด และแตกร้าวจะไม่มีครับ เพราะใช้โครงสร้างเดียวกัน ก็จะทรุดเท่าๆ กัน เลยไม่แตกร้าว) 3. กรณีอยากสร้างบ้าน 3 ชั้น เพื่อให้ได้พื้นที่ใช้สอยมากขึ้นในอนาคตเวลามีลูกหลายๆ คน ก็อาจจะให้ออกแบบโครงสร้าง ฐานราก เสาเข็ม รอไว้ก็ได้ครับ แต่อาจสร้างแค่สองชั้นไปก่อน แล้วค่อยต่อเติมทีหลัง แต่ก็ไม่แนะนำครับ ถ้างบประมาณพอลุยทีเดียวดีกว่า ไม่วุ่นทีหลัง 4. ถ้าต้องการทำรั้วบ้านด้วย แนะนำให้ออกแบบไปพร้อมกันเลยครับ […]

admin

21 September 2014

ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” สำหรับการสร้างบ้าน ตอนที่ 1

ทำไมถึงเกิดเบื้ยหัวแตก ในการใช้บริการบริษัทรับจ้างสร้างบ้าน ในบทความที่แล้วให้แนวคิดใน การประเมินราคาก่อสร้างเบื้องต้น  ของแบบบ้านที่เราถูกใจแล้ว คราวนี้ผมจะเสนอแนวทางป้องกัน ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะต้องอย่าลืมนะครับว่า ส่วนใหญ่แล้วคนที่คิดจะสร้างบ้าน มันมีงบที่จำกัดตั้งแต่เลือกแบบบ้านแล้ว คือ เรามักจะพยายามเลือกแบบบ้านให้พอดีกับงบมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นพอมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าที่ตั้งงบไว้จะมีปัญหาได้ครับ (ไม่นับเพื่อนๆ ที่เพิ่มงบได้ไม่จำกัดนะครับ) เรามาเริ่มที่การวิเคราะห์ว่าทำไมงบถึงบานปลายได้ ผมพอสรุป ได้ดังนี้ครับ 1. ปัญหาจากตัวเราเอง อาทิเช่น – ไม่สรุปความต้องการที่ชัดเจน เพื่อกำหนดลงในแบบก่อสร้างให้หมด ก่อนทำสัญญา – ไม่จ้างมัณฑนากร หรือ สถาปนิก ให้ช่วยออกแบบบ้าน และรายละเอียดภายในบ้าน เพราะมันเป็นอาชีพของเขาครับ อย่าไปเสียดายเงินไม่กี่หมื่นบาทเลย เพราะมันจะประหยัดให้เพื่อนๆ ได้ในภายหลังอย่างมหาศาล (จะอธิบายอีกเพิ่มเติมครับ) – เปลี่ยนแปลงรายละเอียด ที่ระบุในแบบบ้านภายหลังจากการทำสัญญา (อาจเป็นผลจากข้อแรก ที่ไม่ชัดเจนในตัวเองก่อน เลยเป็นปัญหาซ้ำซ้อนกัน) 2. รู้ไม่เท่าทันกลเม็ดของบริษัทรับสร้างบ้าน ซึ่งจะคิดราคาค่าเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ หลังจากทำสัญญา ที่แพงมาก อาทิเช่น ค่าติดตั้งเต้ารับไฟฟ้า เพิ่มเติม ตำแหน่งละ 1,200 บาท ในขณะที่ราคาปกติในตลาดอยู่ที่ประมาณ […]

admin

21 September 2014

การประเมินราคาก่อสร้างเบื้องต้น

หลังจากเพื่อนๆ หาแบบบ้านที่ถูกใจได้ ไม่ว่าจากทางใดใน 5 แนวทางที่ให้ไปแล้วในบทความ “แหล่งหาแบบบ้านถูกใจ” เพื่อนๆ คงอยากรู้ว่ามันน่าจะใช้งบประมาณสักเท่าไรในการก่อสร้างกันนะ ผมขอนำเสนอแนวทางในการประเมินคราวโดยใช้ราคาก่อสร้าง ต่อ ตร.ม. มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาครับ ตารางนี้แสดงราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร ของสมาคมผู้ประเมินฯ อันนี้จะล่าสุดครับ ราคา ณ สิ้นปีที่แล้ว   เรามาลองประเมินราคาก่อสร้างเบื้องต้น ก้นนะครับ ตัวอย่าง แบบบ้านที่เลือกมาแล้วมีพื้นที่ใช้สอยดังนี้ ชั้นล่าง     กว้าง x ยาว = 8.00 ม. x 13.50 ม. = 108 ตารางเมตร ชั้นบน สมมติว่าเท่ากับชั้นล่าง = 108 ตารางเมตร รวม สองชั้น เท่ากับ 216 ตารางเมตร ตามตารางข้อที่ 6 บ้านเดี่ยวตึก 2-3 ชั้น มีราคาก่อสร้างระหว่าง 10,320 – […]

admin

20 September 2014

แหล่งหาแบบบ้านถูกใจ

หลังจากที่เพื่อนๆ มีที่ดินถูกใจแล้ว ก็คงถึงคราวที่จะหาแบบบ้านที่ถูกใจที่จะเป็นวิมานที่เราจะผ่อนไปจนเกษียณ (สำหรับพวกผมชาวมนุษย์เงินเดือนน้อยๆ) มาเริ่มกระบวนการหาแบบบ้านกัน มาเริ่มจากถูกไปแพง 1. แบบบ้านฟรี 130 แบบ จาก โครงการแบบบ้านยิ้ม..เพื่อประชาชน ของสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย กทม. http://office.bangkok.go.th/housing/Temporary/BanyimBlueprint/FramesetBanyimBlueprint.html โดยแบบทั้งหมดจะสามารถ download ทางอินเตอร์เน็ตได้เลยครับ อีกทั้งมีวิศวกรเซ็นต์ชื่อรับรองให้แล้ว แค่พิมพ์แล้วนำไปยื่นขออนุญาตได้เลย มีตั้งแต่บ้านชั้นเดียว ไปจนคฤหาสน์เลยครับ ต้องกด like ให้ กทม. เลย 2. ไปคุยกับเจ้าหน้าที่ ช่างโยธา หรือวิศวกรโยธา ประจำฝ่ายโยธาของแต่ละเขต กทม. โดยขอเจ้าหน้าที่เค้าดูแบบบ้านที่มีประชาชนมายื่นขอก่อสร้างไว้ ซึ่งมีอยู่มากมาย และก็เจรจาขอทำสำเนา เพื่อนำมายื่นก่อสร้างได้เลย โดยจะให้ง่ายก็ให้เจ้าหน้าที่เค้าช่วยหาวิศกรเพื่อเซ็นต์แบบให้ (ก็ลองคุยดูครับ คนไทยใจดีอยู่แล้ว) ค่าใช้จ่ายไม่มากครับ และมีให้เลือกหลากหลายพอควร 3. ซื้อแบบตามเว๊ปไซต์ต่างๆ เห็นมีตั้งแต่ 3 พันกว่าบาทขึ้นไป ก็สะดวกดี 4. เลือกตามหนังสือแบบบ้านที่ขายในร้าน หนังสือต่างๆ เช่น “รวมแบบบ้านสวย” จะอะไรก็ว่ากันไปครับ แต่พอเลือกว่าชอบแบบไหนแล้ว […]

admin

15 September 2014

กลโกงของผู้รับเหมาถมดิน

ขอเสริมอีกนิดเรื่องการถมดิน โดยจะพูดถึงกลโกงของ ผู้รับเหมาถมดิน ซึ่งนับว่าเป็นยาขมของเราๆ ท่านๆ ที่คงไม่คุ้นกับระบบของพวกเค้า (พวกระบบถึงลูกถึงคน หรือพวกนักเลง นิดๆ ) เพื่อนๆ คนไหนเคยจ้างผู้รับเหมาถมดินจะรู้ซึ้งเลยว่า พวกนี้มันนักเลงดีๆ นี่เอง ใครเจอคนดีก็ถือว่าโครตโชคดีเลย … ช่างมันเหอะยังไงก็หนีไม่พ้นครับ เรามาว่ากันถึงกลโกงที่ผมเจอ เผื่อไปใช้สังเกตดูว่าเค้าทำอย่างนี้จริงไหม แต่คงไม่ต้องคาดหวังว่าจะไปป้องกัน หรือจับเค้านะครับ ไม่งั้นอาจมีเรื่องได้ เค้าไม่สนหรอก – ตอนเรียกมาตีราคา ปกติถ้าที่เล็กๆ ไม่ถึง 100 ตร.วา ถ้าดินเดิมเสมอกับถนน ก็ง่ายครับ เอาตลับเมตรวัดก็พอว่าต้องการสู้ แค่ไหน แล้วพ่นสีไว้ที่เสาไฟฟ้าใกล้ๆ แต่ถ้าดินไม่เสมอเป็นบ่อ กรณีที่ดินเล็กเค้าก็จะกะๆ เอาครับว่า ต้องถมดินสูงเท่าจากที่เป็นอยู่เท่าไร (ก็พอรับได้ครับ ยังไงระดับก็ไม่เสมอกันทั้งบริเวณอยู่แล้ว) แต่ถ้าเป็นที่ดินขนาดใหญ่ (คงเป็นไร่ละมัง) ทางผู้รับเหมาจะมีทีมงานส่องกล้องระดับแล้วหาค่าเฉลี่ยความสูงดินเดิมครับ (ก็ดูมีเหตุผลกันดี) – หลังจากนั้นก็ตีราคากันไป เค้าก็จะถามว่าเอาดินอะไร หลักๆ ก็มี หน้าดิน, ดินชั้นสอง, ลูกรัง, หินคลุก เพื่อนๆ คงคิดเหมือนผม […]

admin

13 September 2014

การถมดิน

หลักจากได้ที่ดินที่ต้องการแล้ว ก็คงต้องมีการปรับความสูงดินให้เหมาะสมครับ หลักๆ ก็พอสรุปไม่ให้น่าเบื่อได้ประมาณนี้ครับ – กรณีที่ดินขนาดเล็ก เช่น 50 – 100 ตร.วา คงถมให้สูงที่สุดที่จะทำได้ เพราะยิ่งสูงก็ยิ่งดีครับ เอาไว้หนีน้ำท่วม (ถ้าเกิดขึ้นอีกเหมือนปี 54) หรือ ถนนหน้าบ้านที่ทางการมักจะยกสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีงบซ่อมแซมถนนใหม่ บ้านเราจะได้ไม่ต่ำกว่าถนน ซึ่งจะทำให้น้ำจากถนนจะไหลเข้าบ้านเรา ทำให้ระบายน้ำขังได้ช้า อีกทั้งถ้าบ้านเราต่ำกว่าถนนหน้าบ้านมากๆ จะทำให้เราระบายน้ำเสียจากถังบำบัด และบ่อดักไขมัน ออกนอกบ้านได้ยากในเวลาปกติ และในเวลาฝนตกหนัก น้ำในท่อระบายน้ำเสียที่ถนนหน้าบ้านจะไหลย้อนเข้าบ้าน เป็นผลให้ส่งกลิ่นเน่าเหม็นภายในบริเวณบ้านได้ – ทั้งนี้คำว่า “สูงที่สุดที่จะทำได้” หมายความว่า เป็นความชันที่ไม่เกินที่รถยนต์จะขับขึ้นจอดในที่จอดรถภายในบ้าน ได้ เอาเป็นว่า ไม่น่าจะมีความชันเกิน 30 องศา สำหรับรถเก๋งที่ไม่ติดสเกิร์ต (ของผม วีออส ขึ้นสบายครับ) อนึ่งมักเป็นความชันจากถนนเข้าประตูบ้านนะครับ เพราะส่วนใหญ่ถ้าผ่านประตูมาแล้วคงไม่มีปัญหาอะไร – กรณีที่ดินขนาดใหญ๋กว่า 100 ตร.วา ยิ่งถ้ามีการจัดที่จอดรถเป็นการเฉพาะก็สบายครับ คงถมดินสูงตามกำลังทรัพย์ และไม่เด่นเกินบ้านระแวกเดียวกันมากเกิน (เดี๋ยวโดนเขม่น เพราะทำให้บ้านเค้าดูเตี้ยลง) – […]

admin

12 September 2014

การเลือกที่ดินเพื่อปลูกบ้านเอง

ปัจจัยหลักในการเลือกที่ดิน มีหลายประการดังนี้ – เลือกเพราะติดทำเล ปัจจัยนี้เป็นเหตุให้ผู้คนมักซื้อที่ดิน หรือบ้านใหม่ ใกล้ๆ ทำเลที่อยู่ปัจจุบันของตน อาจเป็นเพราะเราคุ้นเคยกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้อยู่เป็นประจำ อาทิเช่น ห้างสรรพสินค้า ที่ทำงาน ทางด่วน รถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งร้านอาหารเจ้าประจำที่ฝากท้องไว้บ่อยๆ ทำให้มีความน่าจะเป็นมากว่า บริเวณที่มีผู้คนอาศัยหนาแน่น ก็มักจะมีแรงซื้อของบ้านใหม่ มากกว่าบริเวณที่ผู้คนอาศัยเบาบาง – เลือกขนาดที่ดินที่เหมาะสมกับงบประมาณ และฟังชั่นการใช้งานที่ต้องการของค รอบครัว อาทิเช่น ที่ดินทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีด้านยาวติดถนน เช่น ก็จะสร้างบ้านทรง กว้างแต่ตื้น (เวลาดูหน้าบ้านเหมือนใหญ่ แต่พอเข้าไปในบ้าน แล้วรู้สึกว่า ไม่เป็นอย่างนั้นเพราะทรงบ้านหลอกตา) กรณีที่ดินมีความลึกน้อยกว่า 14 – 15 เมตร จะทำให้เลือกแบบบ้านยาก เพราะเทศบัญญัติเกี่ยวกับระยะร่น ด้านข้าง (set back) กำหนดไว้ด้านละ 2 เมตร (หน้า และหลัง รวม 4 เมตร) ทำให้เหลือที่สร้างบ้านน้อย หรือ กรณีด้านกว้างติดถนน จะหาแบบบ้านตามหนังสือต่างๆ […]

admin

11 September 2014
1 80 81 82
Message us
error: Content is protected !!