รางน้ำฝน (Rain Gutter) จำเป็นไหม?

"รางน้ำฝนจำเป็นไหม?"

รางน้ำฝนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่สำคัญและมีประโยชน์มาก เพราะเวลาที่ฝนตกหนักๆ หลังคาที่ไม่ติดรางน้ำฝนก็จะไหลตกลงบนพื้นด้านล่างโดยตรง ถ้าพื้นที่ส่วนนั้นเป็นสวนก็จะเสียหายได้ สำหรับบ้านที่มีชายคาติดกับพื้นที่ข้างเคียง ต้องระวังไม่ให้น้ำฝนจากหลังคาไหลไปรบกวนพื้นที่เพื่อนบ้าน เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้วยังทำให้มีปัญหากับเพื่อนบ้านได้ ทางที่ดีขอแนะนำควรติดรางน้ำจะดีกว่า ซึ่งรางน้ำฝนนั้นมีหลายประเภท วิธีเลือกรางน้ำฝนให้เหมาะกับบ้านคุณ และวิธีการดูแลรักษา รวมถึงติดตั้งอย่างไรไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนบ้าน ไปอ่านกันเลยครับ .....

ประโยชน์ของรางน้ำฝน

  • นำพาน้ำฝนให้ไหลลง ณ จุดที่ต้องการ
  • ป้องกันชายหลังคาบ้าน ไม่ให้ผุกร่อนก่อนเวลาอันสมควร
  • ป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกกระเซ็นสู่บ้านข้างเคียง
  • ป้องกันสิ่งสกปรกจากหลังคาบ้านกระเซ็นลงผนังบ้าน หน้าต่าง ประตู ทำให้เกิดคราบสกปรกตามผนังบ้าน และอาจก่อให้เกิดเชื้อรา รวมถึงทำให้สีบ้านหม่นหมองก่อนเวลาอันสมควร
  • ป้องกันปัญหาดินทรุด เนื่องจากน้ำที่ขังในดินปริมาณมากๆ
  • ป้องกันแรงกระแทกของน้ำไปยังต้นไม้ และสวนรอบบ้าน รวมถึงบ่อปลาและสนามหญ้า
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ซ่อมแซมบ้าน และยังช่วยรักษาหน้าดินชั้นบน

ประเภทของรางน้ำฝนและการเลือกใช้ให้เหมาะกับบ้าน

รางน้ำฝนมีการพัฒนา วัสดุและเทคโนโลยี เพื่อให้รองรับการใช้งานได้ดี มีความทนทาน และความสวยงาม ส่วนมากจะแบ่งประเภทตามวัสดุที่ใช้งาน มีหลากหลายรูปแบบ และราคาที่ต่างกัน ดังนี้

1. รางน้ำฝนสังกะสี

เป็นรางน้ำที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายในสมัยก่อน เพราะราคาถูกแถมติดตั้งง่าย แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือรางน้ำจะเป็นสนิม ผุง่าย และเกิดปัญหารอยรั่วซึม 

ข้อแนะนำ : ควรเลือกความหนา 0.5 มิลลิเมตรขึ้นไป

2. รางน้ำฝนสแตนเลส

เป็นรางน้ำฝนที่สามารถพับขึ้นรูปได้ง่าย มีความคงทนกว่าแบบสังกะสี ไม่เกิดสนิม ใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม และเริ่มนิยมใช้กับบ้านที่อยู่อาศัย ข้อดีของรางน้ำสเตนเลสจะมีอายุการใช้งานนาน 10ปี+ ส่วนข้อเสียคือ อาจจะมีรอยเชื่อมที่อาจแตกได้จากการเกิดสนิมบริเวณรอยต่อที่บัดกรีด้วยตะกั่ว และมีราคาสูงเมื่อเทียบกับรางน้ำประเภทอื่น

ข้อแนะนำ : ควรเลือกใช้เกรด 304 ซึ่งมีความหนา ทนต่อกรด ด่าง และสภาวะอากาศเขตร้อนชื้น (ยกเว้นบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีกรดเกลือ)

3. รางน้ำฝนอลูมิเนียม

เป็นรางน้ำที่มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนสูง, มีน้ำหนักเบา, อายุการใช้งานนานถึง 25 ปี

 

4. รางน้ำฝนไวนิล

จุดเด่นคือ ไม่เป็นสนิม อายุงานที่ใช้ได้เฉลี่ยประมาณ 10 ปี ราคาจับต้องได้ และความสวยงาม เหมาะกับบ้านทุกแบบ ทุกสไตล์  ที่สำคัญไม่เป็นสนิท เป็นรางน้ำที่ผลิตจากพลาสติก (uPVC) เกรดที่ใช้สำหรับงานภายนอก มีหลายสีให้เลือก ผิว

ข้อแนะนำ : ต้องติดตั้งให้ได้มาตรฐานตามที่ผู้ผลิตแนะนำไว้ หากติดตั้งไม่ได้มาตราฐานอาจเกิดการบิดโก่งได้ และไม่ใช้วัสดุอื่นนอกจากซิลิโคนเป็นตัวประสานเชื่อมต่อ เพราะจะทำให้เกิดการรั่วซึม

5. รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส

ไฟเบอร์กลาสเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อน้ำ และแสงแดด ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี ดังนั้นจึงเป็นรางน้ำที่นิยมติดตั้งกับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารเคมี หมดปัญหาเรื่องการผุกร่อน หรือเป็นสนิม อายุการใช้งานค่อนข้างยาวนานกว่า 10 ปีขึ้นไป ชิ้นงานเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน จึงป้องกันปัญหาการรั่วซึมตามรอยต่อได้ดี แต่รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาสมีราคาสูงและต้องติดตั้งโดยช่างเฉพาะทาง

วิธีการบำรุงรักษารางน้ำฝน 

1. หมั่นตรวจสอบการทำงานของรางน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีฝนตก หรือทดลองฉีดน้ำบนหลังคา สังเกตว่ามีการรั่วหรือซึมที่ส่วนไหนของรางน้ำฝนหรือไม่ เพื่อดำเนินซ่อมแซมก่อนช่วงที่ฝนตกหนัก สังเกตตะขอแขวนรางยังคงมั่นอยู่หรือเปล่า หากน้ำฝนปริมาณมากจะได้ไม่มีปัญหารางน้ำหล่นมาพังเสียหาย

2. ทำความสะอาดรางน้ำฝนเป็นประจำ ปัญหาหนึ่งที่มักพบกับรางน้ำฝนคือ หลังจากห่างหายจากหน้าฝนมาสักระยะเจ้าของบ้าน หรือผู้อยู่อาศัยมักหลงลืมการทำความสะอาดรางน้ำ ทำให้มีเศษใบไม้หรือเศษต่าง ๆ ตกค้างอยู่ในรางน้ำ ทำให้เกิดการอุดตัน หรือหากเศษต่าง ๆ มีน้ำหนักมากเกินไปอาจทำให้รางน้ำพังเสียหายได้

ติดตั้งรางน้ำฝนอย่างไร ไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนบ้าน

การติดตั้งรางน้ำฝนยื่นเลยออกไปในเขตของเพื่อนบ้าน ทำให้น้ำที่ล้นกระเด็นไปในบ้านข้างๆ ทำให้มีปัญหากับเพื่อนบ้าน ซึ่งจริงๆ แล้ว การติดตั้งที่ถูกต้องตามข้อกฎหมายการสร้างบ้าน ต้องระวังเรื่องการระบายน้ำฝน เพื่อไม่ให้การระบายน้ำกระทบต่อที่ดินข้างเคียง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่44 (พ.ศ.2538) ข้อ 2 กล่าวคือ "อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงต้องมีการระบายน้ำฝนออกจากอาคารที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นหรือเกิดน้ำไหลนองไปยังที่ดินอื่นที่มีเขตติดต่อกับเขตที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารนั้น"ประกอบกับกฎหมายควบคุมอาคาร ข้อ 50 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) กล่าวคือ "กำหนดให้ แนวผนังอาคารต้องร่นจากเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร และเป็นผนังทึบ"

ข้อแนะนำ : หากติดตั้งรางน้ำฝนกับหลังคาที่มีการติดตั้งเชิงชายเรียบร้อยแล้ว ระยะยื่นปลายกระเบื้องหลังคารางน้ำฝนจะใช้พื้นที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร ยกเว้นกรณีทำรางให้มีความกว้างพิเศษหรือรางคอนกรีตที่กำหนดขนาดเอง

Message us
error: Content is protected !!